เป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงมาแต่ดั้งเดิมจังหวัดสุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา
ฉะเชิงเทรา มีนบุรี หนองจอกเป็นแหล่งกำเหนิดไก่ประดู่หางดำชั้นดีไก่ประดู่
หางดำโด่งดังในสมัยพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาวได้ทรงนำไก่ประดู่หางดำ
จากสุพรรณบุรีมาชนกับไก่ของข้าราชบริพารทรงชนะตลอด ทำให้ไก่ประดู่
หางดำจากสุพรรณบุรีมาชนกับไก่ของข้าราชบริพารทรงชนะตลอด ทำให้
ไก่ประดู่หางดำโด่งดังไม่น้อยไปกว่าเหลืองหางขาว บางตำราบอกว่าไก่ประดู่
หางดำเป็นต้นตระกูลไก่ประดู่สายพันธุ์อื่นๆ อีกหลายสายพันธุ์ ในประเทศไทย
ไก่ชนพันธุ์ประดู่หางดำ มีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้
- ปาก เป็นสายพันธุ์ไก่ชนที่มีปากสีดำ อูมใหญ่ โดยปากจะคล้ายปากนกแก้ว ปากบนมีร่องน้ำทั้งสองข้าง ระหว่างร่องน้ำจะเป็นสันราง
- ตา ตาสีประดู่ หรือแดงอมม่วง หรือตาออกสีดำ หรือสีแดง
- หงอน หงอนหินไม่มีจักเลย
- สร้อยคอ สร้อยคอสีประดู่ยาวประบ่า ปีกใหญ่ยาว สร้อยปีกสีเดียวกับสร้อยคอ สร้อยหลังสีประดู่ยาวระย้าประก้น
- ขน ขนลำตัวขนปีกและหางสีดำ กะลวยหางดำ โคนขาใหญ่
- หน้าอก หน้าอกกว้าง และยาวเนื้อเต็มแน่น
- ขาแข้ง เล็บและเดือย สีดำ เพศเมียสีเดียวกับเพศผู้แต่ไม่มีสร้อย
- ประดู่มะขาม ถ้าสีแก่เรียกมะขามไหม้ ลักษณะขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหาง สีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีประดู่แบบเม็ดมะขามแก่ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาลไหม้(แก่) ตาสีไพล ขนปิดหูสีประดู่
- ประดู่แสมดำมะขามไหม้ ลักษณะเหมือนประดู่มะขามทุกอย่าง ยกเว้น ปาก แข้ง เล็บ เดือย และตาสีดำ
- ประดู่แข้งเขียวตาลาย ลักษณะเหมือนประดู่มะขาม ต่างกันตรงปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเขียวอมดำ ตาลายดำ
- ประดู่แดง ลักษณะเหมือนประดู่อื่นทั่วๆไป ต่างกันตรงสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีออกแดง(น้ำตาลแดง) ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีน้ำตาล ตาสีแดง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น