วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคคอดอก


โรค คอดอก เป็นภาษาท้องถิ่น ชาวบ้านที่เราเรียกกันมานานจนติดปาก แต่คนไม่คุ้นเคยก็อาจจะงงได้ หากจะกล่าวกันให้ถูกต้อง และทำให้หมอเข้าใจก็คงไม่ยากนักโรคคอดอก จะหมายถึงโรคที่ทำให้เกิดดอก หรือตุ่มสีขาวบริเวณหลอดอาหาร บางรายเป็นก้อนขนาดใหญ่คล้ายฝี ที่คนเลี้ยงไก่สามารถมองเห็นได้ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชื่อว่า Trichomonas gallinae (ทริโคโมนาส กัลลิแน)

เป็น โรคติดต่อโดยการปนเปื้อนเชื้อในน้ำกิน จะพบรอยโรคเป็นตุ่มคล้ายดอกกระดุมสีขาว สามารถขูดออกได้ พบในปาก หลอดอาหาร และกระเพาะพัก ช่องปากจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไก่จะทำท่ากลืนบ่อยๆ คนเลี้ยงไก่มักจะบอกว่าขูดออกแล้วหาย พอไม่นานก็เป็นอีกครั้ง เหมือนโรคจะไม่ค่อยรุนแรง แต่บางรายเกิดเป็นก้อนเนื้อฝีขนาดใหญ่อยู่ที่เพดานปาก และคอได้ทีเดียวแต่ สิ่งที่ผู้เลี้ยงกังวล คือ ไก่ขันเสียงเปลี่ยน และการติดต่อไปยังตัวอื่น ซึ่งแน่นอนเป็นหนึ่ง มักจะพบตัวอื่นๆ เป็น คงต้องแก้ไขกันจริงๆ เสียทีเมื่อมาถึงมือหมอแล้ว หมอก็อย่าชะล่าใจคิดว่าเป็นเพียงโรคคอดอกที่จะพบดอกสีขาวแบบนั้นลักษณะอาการมีความใกล้เคียงกับโรคขาดไวตามินเอ ซึ่งจะเป็นฝ้าสีขาว และโรคติดเชื้อแคนดิเดีย (Candidiasis) รวมทั้งฝีดาษ แต่ฝีดาษจะมีอาการอื่นร่วมเพื่อแยกโรคการวินิจฉัยโดยการขูดแล้วป้ายลงบนสไลด์ (wet smear) ตรวจลักษณะของเชื้อโปรโตซัวจากกล้องจุลทรรศน์ โดยจะเห็นการเคลื่อนไหวของเชื้ออย่างชัดเจนภายใต้กำลังขยายวัตถุ 40 เท่า
การรักษา
โดยการให้ยา dimetridazole ในอาหาร ในอเมริกาห้ามใช้ยาชนิดนี้ เพราะมีพิษต่อตับ หรือcarnidazole ให้กินครั้งเดียว หรือ  metronidazole ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ วันละครั้งติดต่อกัน 2 วัน หากเจ้าของไม่สะดวกมักจะให้ยาในรูปกิน  นาน 5-7 วัน ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ
          ควรแยกไก่ป่วย จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อโรค จนกว่าจะหายขาด 
ก็ คงไม่เห็นว่าเป็นโรคที่ยากเย็นนัก เห็นโพสถามกันมากมายหลายเว็บ จนคิดว่าโรคนี้มันกลายพันธุ์เป็นโรคปัญหาไปแล้วหรือ การรักษาต้องรักษาให้หายขาด และควรนำไก่มาตรวจอยู่เสมอ เพื่อลดการติดต่อไปสู่ตัวอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคคอดอก

โรค คอดอก เป็นภาษาท้องถิ่น ชาวบ้านที่เราเรียกกันมานานจนติดปาก แต่คนไม่คุ้นเคยก็อาจจะงงได้ หากจะกล่าวกันให้ถูกต้อง และทำให้หมอเข้าใจก็คงไ...