วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ไก่ชนพันธุ์เขียวหางดำหรือเขียวกา

  ไก่เขียวหางดำมีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือของไทย ไก่เขียวมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ในภาคเหนือ จังหวัดอุตรดิตถ์ เรียก “เขียวพาลี” ส่วนภาคกลาง เรียก “เขียวพระยาพิชัยดาบหัก” และภาคใต้ เรียก “เขียวมรกต” และยังมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น เขียวไข่กา, เขียวพระอินทร์, เขียวนิลสาริกา ไก่พันธุ์เขียวหางดำ ปัจจุบันค่อนข้างหายาก กำลังอนุรักษ์และพัฒนากันต่อไป


       เพศผู้ : ไก่เขียวพาลี มีรูปร่างเพรียวยาวสูงระหง ทรงพญาหงส์ ลำตัวยาว ไหล่ยกกระเบนหางรัด หางสวยงามทรงฟ่อนข้าวหรือพลูจับ ก้านหางแข็ง ปั้นขาใหญ่กลมเรียกแบบลำหวาย หน้ากลมยาวแบบนกยูงหรือกา ยืนเหยียดขาตรงชูคอเล่นสร้อยตลอดเวลา 
- คอ คอใหญ่ปานกลาง ยาวระหง กระดูกปล้องคอชิดแน่น ลำคอโค้งเป็นรูปเคียว   ขนสร้อยคอขึ้นเรียบเป็นระเบียบ 
- ใบหน้า ใบหน้ากลมยาว ผิวเรียบแบบหน้ากาหรือนกยูง 
- ปีก ปีกยาว สนับปีกใหญ่ ปีกเป็นลอนเดียว สีดำ สร้อยปีกสีเขียวอมดำ 
- ปาก ปากใหญ่ ปลายปากงอเล็กน้อย มีร่องปากหรือร่องน้ำทั้ง 2 ข้าง ปากสีเขียวอมดำ สีรับกันกับสีแข้ง เล็บ   และเดือย 
- จมูก รูจมูกกว้างยาวเป็นแนวตามปาก สันจมูกเรียบไม่เผยอ สีเดียวกับปาก 
- หาง หางพัดและหางกระรวยสีดำสนิท หางพัดเรียงกันเป็นแนวจากล่างขึ้นบนตามลำดับ หางกระรวยดก   ยาวเป็นฟ่อนข้าว ก้านหางแข็ง 
- ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี คิ้วนูนเรียบตามเบ้าตา ดวงตาสีเขียวอมดำ สีเส้นเลือดแดงในตาชัดเจน   ลูกตามีประกายแจ่มใส 
- แข้งขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสัน แข้งเรียวแบบลำหวาย ข้อขาตรง หนังปั้นขาออกสีชมพู ขนปั้นขาสีดำ 
- หงอน หงอนเป็นหงอนหิน มีแฉกเล็กๆ 2 ข้าง ผิวหงอนเรียบ หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง   ท้ายหงอนกดรัดกระหม่อม ไม่พับไม่ล้ม 
- เกล็ด เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้วสีเขียวอมดำรับกับสีปาก เกล็ดเรียบเป็นแถวเป็นแนวยาวปัดตลอด มักมีเกล็ดพิฆาต   เช่น กากบาท นาคราช เสือซ่อนเล็บ เหน็บใน ผลาญศัตรู งูจงอาง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง 
- นิ้ว นิ้วเรียวยาว ปุ่มนิ้วหรือตัวปลิงแน่น เกล็ดนิ้วมักแตกเป็นลักษณะต่างๆ เกล็ด เล็บ เดือย   มีสีเขียวอมดำรับกับแข้งและปาก 
- เดือย เป็นเดือยแบบขนเม่นและงาช้าง เดือยแหลมคม สีเดียวกับแข้งหรือปาก 
- กะโหลก กะโหลกหัวยาว 2 ตอน ส่วนหน้ายาวเล็กกว่าส่วนท้าย เห็นรอยไขหัวที่กะโหลกชัดเจน 
- ขน ขนพื้นตัว หน้าคอ หน้าท้อง ใต้ท้อง ใต้ปีก สีดำตลอด ขนหางพัด หางกระรวยสีดำสนิท ขนสร้อยคอ   สร้อยปีก สร้อยหลัง และระย้า 

      เพศเมีย : เป็น ไก่ทรงยาวจับ 2 ท่อน คอยาวลอนเดียว ขนพื้นตัว ขนหาง ทั้งหมดเป็นสีดำ ขนคอ ขนหลัง ปลายขน เป็นสีเขียวอมดำเล็กน้อยตามสีตัวผู้ จะเป็นเขียวอะไรก็ให้สังเกตที่ปลายขนสร้อยคอจะออกสีเขียวเล็กน้อย ปาก แข้ง เล็บ เดือย ตา สีเขียวอมดำ ยกเว้นเขียวนิลสาริกา และเขียวแมลงทับ ปาก แข้ง เล็บ เดือย จะมีสีขาว จาสีขาวปลาหมอตาย



     ไก่เขียวพาลี เป็นไก่ที่งดงาม ทรงเพรียวระหง ขนพื้นตัว ขนหางพัด หางกระรวยสีดำสนิท ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังเป็นสีเขียวอมดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย เป็นสีเขียวอมดำ
- น้ำหนักตัวเพศผู้ประมาณ  3 กิโลกรัม ขึ้นไป 
- น้ำหนักเพศเมียประมาณ 2 กิโลกรัม ขึ้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคคอดอก

โรค คอดอก เป็นภาษาท้องถิ่น ชาวบ้านที่เราเรียกกันมานานจนติดปาก แต่คนไม่คุ้นเคยก็อาจจะงงได้ หากจะกล่าวกันให้ถูกต้อง และทำให้หมอเข้าใจก็คงไ...