วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคคอดอก


โรค คอดอก เป็นภาษาท้องถิ่น ชาวบ้านที่เราเรียกกันมานานจนติดปาก แต่คนไม่คุ้นเคยก็อาจจะงงได้ หากจะกล่าวกันให้ถูกต้อง และทำให้หมอเข้าใจก็คงไม่ยากนักโรคคอดอก จะหมายถึงโรคที่ทำให้เกิดดอก หรือตุ่มสีขาวบริเวณหลอดอาหาร บางรายเป็นก้อนขนาดใหญ่คล้ายฝี ที่คนเลี้ยงไก่สามารถมองเห็นได้ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชื่อว่า Trichomonas gallinae (ทริโคโมนาส กัลลิแน)

เป็น โรคติดต่อโดยการปนเปื้อนเชื้อในน้ำกิน จะพบรอยโรคเป็นตุ่มคล้ายดอกกระดุมสีขาว สามารถขูดออกได้ พบในปาก หลอดอาหาร และกระเพาะพัก ช่องปากจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไก่จะทำท่ากลืนบ่อยๆ คนเลี้ยงไก่มักจะบอกว่าขูดออกแล้วหาย พอไม่นานก็เป็นอีกครั้ง เหมือนโรคจะไม่ค่อยรุนแรง แต่บางรายเกิดเป็นก้อนเนื้อฝีขนาดใหญ่อยู่ที่เพดานปาก และคอได้ทีเดียวแต่ สิ่งที่ผู้เลี้ยงกังวล คือ ไก่ขันเสียงเปลี่ยน และการติดต่อไปยังตัวอื่น ซึ่งแน่นอนเป็นหนึ่ง มักจะพบตัวอื่นๆ เป็น คงต้องแก้ไขกันจริงๆ เสียทีเมื่อมาถึงมือหมอแล้ว หมอก็อย่าชะล่าใจคิดว่าเป็นเพียงโรคคอดอกที่จะพบดอกสีขาวแบบนั้นลักษณะอาการมีความใกล้เคียงกับโรคขาดไวตามินเอ ซึ่งจะเป็นฝ้าสีขาว และโรคติดเชื้อแคนดิเดีย (Candidiasis) รวมทั้งฝีดาษ แต่ฝีดาษจะมีอาการอื่นร่วมเพื่อแยกโรคการวินิจฉัยโดยการขูดแล้วป้ายลงบนสไลด์ (wet smear) ตรวจลักษณะของเชื้อโปรโตซัวจากกล้องจุลทรรศน์ โดยจะเห็นการเคลื่อนไหวของเชื้ออย่างชัดเจนภายใต้กำลังขยายวัตถุ 40 เท่า
การรักษา
โดยการให้ยา dimetridazole ในอาหาร ในอเมริกาห้ามใช้ยาชนิดนี้ เพราะมีพิษต่อตับ หรือcarnidazole ให้กินครั้งเดียว หรือ  metronidazole ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ วันละครั้งติดต่อกัน 2 วัน หากเจ้าของไม่สะดวกมักจะให้ยาในรูปกิน  นาน 5-7 วัน ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ
          ควรแยกไก่ป่วย จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อโรค จนกว่าจะหายขาด 
ก็ คงไม่เห็นว่าเป็นโรคที่ยากเย็นนัก เห็นโพสถามกันมากมายหลายเว็บ จนคิดว่าโรคนี้มันกลายพันธุ์เป็นโรคปัญหาไปแล้วหรือ การรักษาต้องรักษาให้หายขาด และควรนำไก่มาตรวจอยู่เสมอ เพื่อลดการติดต่อไปสู่ตัวอื่น

ไก่ไซ่ง่อน


เป็นไก่ที่มีลักษณะไม่ค่อยสวยงาม คือ มีขนน้อย โดยเฉพาะสร้อยคอ ขนตัว และหางมักจะสั้น ผิวพรรณโดยเฉพาะหนังจะเป็นสีแดงและหนา กระดูกและโครงสร้างจะใหญ่กว่าไก่ไทยและไก่พม่า ลีลาชั้นเชิงมีน้อย อืด และช้า ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้นิยมนำไก่เวียดนามไปผสมกับไก่ไทยและพม่า



ไก่ไซ่ง่อนมีสีเด่นๆคือ
– สีเขียว มีทั้งสีเขียวไข่กา เขียวแมลงภู่ เขียวเลาแข้งเขียวตาลาย
– สีประดู่ ส่วนใหญ่จะเป็นไก่สีประดู่หางดำ
– สีเทา มีทั้งเทาทอง เทาดำ และเทาทั่วไป
– สีทองแดง มีทั้งแดงโนรี นกแดง แดงกรด
– สีเหลือง มีทั้งเหลืองอ่อน เหลืองใหญ่ และเหลืองดอกโสน
– สีดอกหมาก
              ไก่เวียดนามที่นิยมเล่นกันมักจะเป็นสีเขียว สีประดู่ สีเทา ส่วนสีอื่นก็มีเหมือนกัน ไก่เวียดนามมีจุดเด่น ที่มองเห็นชัดคือโครงสร้างกระดูกใหญ่ ขันเสียงดัง แข้งมักจะใหญ่ เกล็ดมักจะเป็นเกล็ด 2 แถว แบบตะเข้ขบฟัน เกล็ดเม็ดข้าวสารมักจะสวย ไก่เวียดนามที่เป็นลูกผสมไทยหรือพม่า ถ้าแข้งกลมเล็กมักจะเก่งแทบทุกตัว และตีเจ็บปวด



ไก่ไซ่ง่อนพันธุ์ล่อน ขนคอไม่มีตั้งแต่เกิดจนถึงโต
ไก่ไซ่ง่อนพันธุ์มีขน จะมีขนขึ้นทั่วตัวเหมือนกับไก่ไทย แต่พอโตขึ้นขนจะน้อยโดยเฉพาะขนคอและหาง
ไก่ไซ่ง่อนลูกร้อยเล็กๆ จนถึงโตเป็นหนุ่ม จะขี้ขลาดไม่ค่อยสู้ไก่เต็มตัว ยกเว้นบางตัว พอเป็นลูกถ่ายแล้วจึง จะสู้เต็มตัว คนไทยไม่ชอบเพราะทนรอไม่ไหว แต่ถ้าเป็นลูกผสม 50%, 75%, 25% จะสู้ไก่ตั้งแต่รุ่นหนุ่มเหมือนกับไก่ไทยยกเว้นบางตัว
ไก่ไซ่ง่อน เป็นไก่ที่มีลีลาชั้นเชิงและเพลงตีไม่ค่อยดี แต่เป็นไก่ตีลำโต ตีหน้าอุด ตีตัว ถ้าตัวใดปากไว ตีไม่เลือกแผลก็เก่งไปเลยสู้ไก่ได้ทุกเชิง
ไก่ไซ่ง่อนลูกร้อย ความจริงก็มีขนขึ้นทั่วตัวแต่มีน้อย และเจ้าของโดยเฉพาะชาวเวียดนาม เขาจะตัดขนตามสีข้างและตะโพกออก เพื่อเวลาไก่ตีจะ ได้ระบายความร้อนออกตามผิวหนังได้สะดวก ซึ่งเป็นความเชื่อของเขา นับว่าก็มีเหตุผลดี ซึ่งตรงกันข้ามกับความเชื่อของนักเลงไก่ไทยโดยว่าขน ตามตัวจะช่วยอุ้มน้ำ ทำให้ไม่หอบเวลาชน


วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ไก่ชนพันธุ์เขียวเลาหางขาว

ไก่ชนพันธุ์ประดู่เลาหางขาว แหล่งกำเนิด เชื่อว่ามาจากพระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี กำแพงเพชร มีนบุรี หนองจอก สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ประเภท เป็นไก่ชนไทยขนาดกลาง ตัวผู้หนัก 3.00 - 4.00 กก. ตัวเมียหนัก 2.50 - 3.00 กก. สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน สีของลูกเจี๊ยบ ขนหัว ขนคอขาว ขนหางดำ ปีกในสีดำ ปีกนอกสีขาว หน้าคอ หน้าท้องสีขาว ประวัติความเป็นมา ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีความเป็นมาอย่างไร พัฒนามาจากไก่สายพันธุ์ใด ในประวัติศาสตร์ หรือการบันทึกยังไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญท่านใดในประวัติศาสตร์

รูปร่างลักษณะของประดู่เลาหางขาว
  • รูปร่าง แบบทรงหงส์ ลำตัวยาว ไหล่ยก หางดกยาวเป็นฟ่อนข้าว เดินยืดท่าทางสง่างาม แข้งกลมแบบลำหวาย หน้ากลมยาวแบบหน้านก
  • ใบหน้า กลึงกลมแบบหน้านกเหยี่ยว เหนียงคางรัด
  • ปาก ปากใหญ่ ปลายปากงุ้มสีน้ำตาลอมเหลืองเล็กน้อย ปากมีร่องน้ำลึกทั้ง 2 ข้าง สีน้ำตาลอ่อน
  • จมูก จมูกแบนราบสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ สีเดียวกับปาก
  • ตา ขอบตาเป็นรูปวงรีแบบตาวัว ขอบตา 2 ชั้น นัยน์ตาดำ ตารอบนอกสีเหลืองแก่แบบสีไพล เส้นเลือดสีแดงชัดเจน
  • หงอน หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกอดกระหม่อม หงอนสีแดงสด พื้นหงอนเรียบ
  • ตุ้มหู ตุ้มหูสีแดงเหมือนหงอน ขนปิดรูหูสีประดู่เลา เหมือนขนสร้อย
  • เหนียง เหนียงเล็กสีแดงเหมือนหงอน รัดติดกับคาง
  • กะโหลก กะโหลกยาวกลมเป็น 2 ตอน ตอนหน้าเล็ก ตอนหลังใหญ่กว่า
  • คอ คอยาวใหญ่โค้งแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิดร่องคอ ขนสร้อยคอขึ้นดกเป็นระเบียบสีประดู่เลา
  • ปีก ปีกยาวใหญ่จรดก้น ขนปีกท่อนในขาวปนดำ ปีกท่อนนอกไชปีกขาว ปีกท่อนในไชปีกขาวปนดำ ปีกแน่นไม่เป็นร่องโหว่
  • ตะเกียบ ตะเกียบแข้งตรง ท้องแฟบรับกับตะเกียบ
  • หาง หางยาวดกเป็นระเบียบ สีขาวปนดำ หางพัดดำปลายขาว หางกะลวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆสีขาวปนดำ หางดกยาวเป็นฟ่อนข้าว ก้านหางสีเดียวกับขน
  • แข้งขา ปั้นขาใหญ่ ห่างจากกัน ข้อขามั่นคง ขนปั้นขาสีดำ เป็นแข้งรูปลำเทียน ลำหวาย เกล็ดแข้ง 2 แถวเป็นระเบียบ นิ้วเรียวยาว แข้งสีเดียวกับปาก
  • เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบสีเดียวกับปาก
  • นิ้ว นิ้วยาวเป็นลำเทียน ข้อนิ้วมีท้องปลิงหนา
  • เดือย เดือยเป็นเดือยแบบลูกปืน หรือแบบงาช้าง แข็งแรงมั่นคง
  • ขน ขนพื้นตัวสีดำ ขนกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ
  • สร้อยปีก และสร้อยหลัง สีประดู่เลา คือโคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีประดู่
  • เล็บ มั่นคงแข็งแรง สีเดียวกับเกล็ดแข้งและปาก
  • สร้อย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีประดู่เลา คือ ขนสร้อยท่อนล่างสีขาว ท่อนปลายสีประดู่
  • กระปุกน้ำมัน เป็นกระปุกใหญ่ ปลายเดียว

ประดู่เลามี 4 เฉดสี คือ
  1. ประดู่เลาใหญ่ หรือเรียกอีกชื่อว่าเลาใหญ่พระเจ้า 5 พระองค์ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางเป็นสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ที่หัว-หัวปีก-ข้อขา มีกระขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยระย้า โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีเม็ดมะขามแก่ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล
  2. ประดู่เลาเล็ก ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้า โคนขนสีขาว ปลายขนสีเม็ดมะขามแก่ ไม่มีหย่อมกระ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล
  3. ประดู่เลาแดง ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้า โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีประดู่แดง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพลหรือส้ม
  4. ประดู่เลาดำ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีคล้ำเข้มแบบเขียวประดู่

วันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ไก่ชนพันธุ์นกกรดหางดำ


ไก่ชนพันธุ์นกกรดหางดำ ไก่นกกรด เป็นไก่สวยงามอีกพันธุ์หนึ่ง ท่าทางยืนเด่นสง่าผ่าเผย ชนเชิงดี มักมีแข้งเปล่า เป็นไก่ชนดุดันไม่กลัวใคร ไก่นกกรดเป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณครั้งอยุธยา โด่งดังเมื่อครั้งฉลองกรุงหงสาวดีจัดให้มีการชนไก่หน้าพระที่นั่งบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรยังทรงพำนักอยู่พม่า โปรดให้พระน้องยาเธอสมเด็จพระเอกาทศรถนำไก่กรดไปชนหน้าพระที่นั่ง ได้ชนะไก่พม่า และได้อยู่เป็นพ่อพันธุ์สืบทอดในประเทศพม่าจนถึงปัจจุบันแหล่งกำเนิด ไก่นกกรดมีแหล่งกำเนิดอยู่ทั่ว ๆ ไป ไก่เก่ง ไก่ดัง จะอยู่ทั่ว ๆ ไป ไก่เก่งไก่ดังจะอยู่แถวๆ นครสวรรค์ ราชบุรี เพชรบุรี นครปฐม กาญจนบุรี พิจิตร สุพรรณบุรี เพชรบูรณ์ เป็นต้น ประเภท ไก่นกกรดเป็นไก่ขนาดกลาง ตัวผู้น้ำหนักโดยเฉลี่ย ประมาณ 3-3.5 กิโลกรัม ตัวเมีย ประมาณ 2.5-3 กิโลกรัม สีของเปลือกไข่และลูกเจี๊ยบ เปลือกไข่สีน้ำตาลแดง ลูกเจี๊ยบแดงลายลูกหมูป่า หรือลายกระถิก ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ขนหัวสีแดง

 ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ อาจารย์พนได้เป็นผู้ให้ข้อมูล ดังนี้
  • รูปร่างลักษณะ ไก่นกกรด เป็นไก่รูปทรงงดงามอีกพันธุ์หนึ่ง รูปร่างสูงโปร่ง ทรงหงส์ ไหล่กว้าง หลังยาว ปีกใหญ่ยาวอยู่เสมอ หางยาวเป็นพลูจีบหรือฟ่อนข้าว ปั้นขาใหญ่คอยาว
  • ปาก ปากใหญ่ ปลายงุ้มสีเหลืองอมแดงรับกับเล็บและเดือย
  • จมูก จมูกกว้าง ฝาปิดจมูกเรียบ รูจมูกกว้าง มีสีเดียวกับปาก
  • หงอน เป็นหงอนหิน 3 แฉก ผิวหงอนบางเรียบ หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกอด
  • หู-ตุ้มหู ขนปิดหู สีแดงแบบสร้อย ตุ้มหูรัดรึงติดกับหน้าดูกระชับไม่หย่อนยาน
  • เหนียง เหนียงรัดรึงติดกับคาง ไม่หย่อนยาน สีแดงสดใสเหมือนหงอน
  • กะโหลก กะโหลกหัวยาว 2 ตอน มีรอยไขหัวชัดเจน
  • คอ คอยาวใหญ่ โค้งลอนเดียว แบบคอม้า กระปล้องคอชิดแน่น ขนสร้อยคอขึ้นเป็นระเบียบ
  • ปีก ปีกยาวใหญ่ ไม่โหว่ เป็นลอนเดียว สร้อยหัวปีกสีแดงเป็นมัน กลางปีกสีแดงแบบพื้นตัว สีขน ปลายปีกสีแดงอมน้ำตาลแบบสีปีกแมลงสาบ
  • ตะเกียบ ตะเกียบก้นแข็ง ชิดและขนานกัน
  • หาง ขั้วหางใหญ่ หางพัดดก เรียงเป็นระเบียบ สีดำ หางกะลวย ดกยาวสีแดง หางเป็นลักษณะฟ่อน ข้าวหรือพลูจีบ
  • แข้งขา แข้งเล็ก เรียวกลม สีเหลืองอมแดง สีรับกับปากและเดือย
  • เกล็ด เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบ สีเดียวกับปาก มักมีเกล็ดพิฆาตสีเดียวกับแข้ง
  • นิ้ว นิ้วยาวเรียวกลม ใต้นิ้วมีตัวปลิงชัดเจน เกล็ดนิ้วมักแตกเป็นเกล็ดพิฆาต สีเดียวกับแข้ง
  • เดือย เป็นเดือยงาช้างหรือเดือยลูกปืนสีเดียวกับแข้งและปาก
  • ขน ขนพื้นตัวสีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้าสีแดงอมน้ำตาลเข้ม แบบสีแมลงสาบ
  • กิริยาท่าทาง ไก่นกกรดเป็นไก่สวยงามอีกพันธุ์หนึ่ง ท่าทางยืนเด่น สง่าผ่าเผย ชนเชิงดี มักมีแข้ง เปล่าเป็นไก่ชนดุดัน ไม่กลัวใคร


ไก่นกกรด แบ่งตามเฉดสีได้ 4 ชนิด คือ
  1. นกกรดแดง ขนพื้นตัวสีดำ ขนหางพัด หางกะลวยสีดำ ขนปีกสีแดง ปลายปีกสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหู สีน้ำตาลอมแดง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตาสีแดง ตัวนี้เป็นตัวนิยม
  2. นกกรดดำ ขนพื้นตัวสีดำ ขนหางพัด หางกะลวย ขนปีกสีแดง ปลายปีกสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเป็นสีน้ำตาลอมดำ คล้าย ๆ สีประดู่ แสมดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตาสีแดงเข้มอมดำ
  3. นกกรดเหลือง ขนพื้นตัวสีดำ ปลายปีกสีแมลงสาบเช่นเดียวกับตัวอื่น ๆ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูสีเหลืองอมดำปนน้ำตาล ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง
  4. นกกรดกะปูด หรือบางคนเรียก กรดนาก กรดลาย ตอนเล็กจะมีลายดำอยู่ที่ปีก ขนพื้นตัวสีดำ ขนพัดขนกะลวยสีดำ ขนปีกสีเหมือนแมลงสาบ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปีกหู สีแดงดำอมน้ำตาล แบบสีตัวนากหรือนกกะปูด
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ไก่นกกรดเพศเมีย
ขนพื้นตัวสีน้ำตาลแบบสีกาบอ้อย ขนสันหรือสร้อยคอสีน้ำตาล ขนปีก ขนหลัง สีน้ำตาล ขนปลายปีกจะมีสีน้ำตาลเข้มแบบสีแมลงสาบ ขนหางพัดสีดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ขนปิดหูสีน้ำตาล ตาสีเหลืองอมแดง จะเป็นกรดเฉดสีอะไรให้สังเกตดูที่สร้อยคอ จะเป็นขลิบสีเหมือนขนสร้อยตัวผู้

ไก่ชนพันธุ์เทาหางขาว



ไก่ชนพันธุ์เทาหางขาว ไก่เทา หรือไก่สีเทา หรือไก่เถ้า มีแหล่งกำเนิดทั่วไปของประเทศไทย แหล่งกำเนิดไก่เทาที่มีชื่อเสียง เช่น จังหวัดตาก, อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี, อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี และแถบภาคอีสานจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ นครราชสีมา อุบลราชธานี เป็นต้น ไก่เทาเป็นไก่ขนาดกลางน้ำหนักตัวเฉลี่ยตัวผู้ประมาณ 3-3.5 กก. ตัวเมียประมาณ 2-3 กก.

  • ลำตัว ไก่เทามีลำตัวสองลักษณะ คือ รูปร่างเพรียวบางยาวระหง กับล้ำเตี้ยรูปหัวปลีและเบี้ยจั่น ลำตัวกลม หางยาวทรงฟ่อนข้าวและทรงหางม้า
  • ใบหน้า กลมกลึง หน้าแบบหน้านก หน้ากา
  • ปาก ปากใหญ่ยาว ปลายปากงุ้ม มีร่องน้ำลึกทั้งสองข้าง ปากสีขาวอมเหลืองรับกับสีแข้ง เล็บ เดือย
  • จมูก รูจมูกโปร่งกว้าง สันจมูกเรียบติดกับปากสีเดียวกับปาก
  • ตา สีตาขาวอมเหลือง มีเส้นเลือดในตาขาวเด่นชัด ขอบตาเป็นรูปวงรี สองชั้น ดวงตาแจ่มใส
  • หงอน เป็นหงอนหินหรือหงอนสามแฉก หน้าหงอนบางกลางหงอนสูง กอดรัดกระหม่อม
  • หู ตุ้มหูรัดตรึง ไม่หย่อนยาน ขนปิดหูสีเดียวกับสร้อย
  • เหนียง เหนียงรัดตรึงติดกับคาง ไม่มีแปะหย่อนยาน สีเดียวกับหงอน
  • กะโหลก ยาว2ตอน ตอนหน้าเรียวยาวเล็กว่าท่อนหลัง มีรอยไขหัวกลางกะโหลก
  • คอ คอยาวรูปเคียว ปล้องคอชิดแน่น สร้อยคอขึ้นเป็นระเบียบ สีเดียวกับสร้อยหลังยาวไปต่อกับสร้อยหลังพอดี
  • ปีก ปีกใหญ่และยาว เป็นปีกลอนเดียวไม่ห่างไม่โหว่ ปีกสีเทาเหมือนขนพื้นตัว สร้อยหัวปีกสีเดียว กับสร้อยคอและสร้อยหลัง
  • ตะเกียบ ชิดตรง
  • หาง หางพัดยาวเรียบเป็นระเบียบสีเทาเดียวกับขนพื้นตัวหรือหางกระรวยสีขาวปนเทา หางทรง ฟ่อนข้าว พลูจีบ หรือหางม้า ขั้วหางใหญ่มีกระปุกน้ำมันใหญ่และอันเดียว
  • แข้งขา ปั้นขาใหญ่ กลมกลึง แข้งเรียวกลมกลึงแบบลำหวาย แข้งสีเดียวกับปาก ขนปั้นขาสีเทา
  • เกล็ด เกล็ดแข้งสีขาวอมเหลืองรับกับสีปาก เกล็ดเรียงเป็นระเบียบแบบแถว จระเข้ขบฟันหรือปัด ตลอดจะมีเกล็ดพิฆาต เช่น เสือซ่อนเล็บ ไชบาดาล และอื่นๆ
  • นิ้ว เรียวยาว ปุ่มนิ้วมีตัวปลิง เกล็ดนิ้วมีแตกมีแซม เล็บนิ้วจะสีเดียวกับนิ้วหรือปาก หรือแข้ง
  • เดือย เดือยแหลมคมแบบเดือยงาช้าง ฐานเดือยมั่นคง
  • ขน ขนพื้นตัวสีเทาตามพันธุ์ ขนปีกขนหางพัดสีเทา ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้าสี เดียวกันตามพันธุ์ เช่น ดำ ประดู่ ขี้เถ้า ทองแดง หรือเหลืองทอง
  • กริยาท่าทาง เป็นไก่ที่สง่างามอีกพันธุ์หนึ่ง ยืนเดินทะมัดทะแมง ยืนตัวตรงเล่นสร้อยกระพือปีกตลอดเวลา มีชั้นเชิงหลายกระบวนท่า
สายพันธุ์ไก่เทาหางขาวพันธุ์แท้แต่โบราณ มีอยู่ 6 พันธุ์ คือ
  1. ไก่เทาทองคำหรือเทาฤาษี เป็นไก่เทายอดนิยมอันดับหนึ่งเหนือไก่เทาอื่นใด ไก่เทาทองหรือเทาเหลืองที่โด่งดังเป็นไก่โทนเถ้าของหลวงเมืองตากชนชนะไก่มากมาย ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ของเทาทองคำคือ ขนพื้นตัวสีเทาอ่อนแบบขี้เถ้าฟืน ขนปีกขนหางพัดสีเทาแบบสีพื้นตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนระย้าสีเหลืองทอง แบบเหลืองหางขาว ขนกระรวยโคนเทาปลายขาวหรือกระรวยคู่กลางขาวปลอด ปาก แข้งเล็บ เดือยสีขาวอมเหลืองรับกัน ขนปิดหูสีเหลืองทอง ตาสีขาวอมเหลืองแบบสีปลาหมอตายคล้ายไก่เหลืองหางขาวมาก
  2. ไก่เทาทองแดง เป็นไก่เทาอันดับสองรองจากไก่เทาทองคำ ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ของเทาทองแดง ขนพื้นตัวสีเทาแก่ ก้านขนจะแดง ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแก่ ขนหางกระรวยสีเทาปลายขาว ก้านขนแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และระย้าสีทองแดงคล้ายไก่ทองแดง หางดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีขาวอมแดง เกล็ดแข้งขอบเกล็ดสีแดงจะออกเข้มกว่ากลางเกล็ด ขนปิดหูสีแดงแบบสร้อย ตาสีแดง
  3. ไก่เทาสวาด เป็นไก่เทาอันดับสามรองจากเทาทองแดง ลักษณะเด่น ประจำพันธุ์เทา ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแบบลูกสวาด หรือสีเหมือนแมวสีสวาด หรือแมวโคราช ขนกระรวยสีโคนขนสีสวาด ปลายขนสีขาว ขนปิดหู สีเทาสวาดเข้ม กว่าสีพื้นตัว ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง ขอบเกล็ดสีเทา ตาสีเหลืองไพล
  4. ไก่เทาหม้อ เป็นไก่เทาอันดับสี่รองจากเทาสวาด ลักษณะเด่นประจำพันธุ์เทาหม้อ ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัด สีเทาแก่ หางกระรวยสีเทาปลายขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้าสีเทาแก่แบบสีมะขามไหม้ ขนปิดหูสีเดียวกับสร้อย ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง
  5. ไก่เทาขี้เถ้า เป็นไก่เทาอันดับห้ารองจากเทาหม้อ บางแห่งเรียกว่าเทาเงินยวง ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ ขนพื้นตัว ขนปีก ขนหางพัดสีเทาอ่อนแบบสีขี้เถ้าฟืน สีไก่แจ้ดอกหมากหรือสีนกพิราบ หางกระรวยโคนขนสีเทาปลายขนขาวค่อนข้างมาก ขนปิดหูสีเทาอ่อน ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง ตาสีขาวขุนแบบควันไฟ
  6. ไก่เทาดำ เป็นไก่เทาอันดับหกรองจากไก่เทาขี้เถ้า ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ขนพื้นตัวสีเทาแก่ ขนปีก ขนหางพัดสีเทาแก่ ขนหางกระรวยสีเทาแซมขาวเล็กน้อย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูสีดำ บางคนเรียกเทาขี้ควาย ปากแข้ง เล็บ เดือยและตาสีดำคล้ำ
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ไก่เทาหางขาวเพศเมีย
ไก่เทาเพศเมีย มีรูปร่างเพรียวบางสูงระหง คอคางรัด หน้าแหลมกลมกลึงแบบหน้านก ลำตัวยาวกลมจับยาวสองท่อน ขนพื้นตัวและขนหลังเส้นเล็กละเอียดเรียงกันเป็นระเบียบ กระเบนหางรัด สีขนพื้นตัว ขนหลัง ขนปีก ขนหางและขนคอ เป็นสีเทาเหมือนกันทั้งตัว สีจะแก่-อ่อนต่างกันตามสายพันธุ์เหมือนขนพื้นตัวของตัวผู้ ส่วนที่แตกต่างกันเห็นได้ชัด คือ ขนสร้อยคอจะมีขลิบสีไปตามสายพันธุ์เหมือนขนสร้อยคอตัวผู้ เช่น เทาทองคำจะมีขนขลิบเหลือง เทาทองแดงจะมีขนขลิบสีแดง เทาสวาดหรือเทาเรือรบจะมีขลิบสีเทา เทาหม้อหรือเทาประดุ่จะมีขนขลิบสีประดู่ เทาขี้ถ้าหรือเทาเงินยวงหรือเทานกพิราบจะมีขนขลิบสีขาว เทาขี้ควายหรือเทาดำสีตาจะเหมือนตัวผู้ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองและแดงเหมือนตัวผู้เช่นกัน

ไก่ชนพันธุ์ลายหางขาว

 ไก่ชนพันธุ์ลายหางขาว
แหล่งกำเนิด เป็นไก่ในเขตภาคเหนือแถบจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ในภาคอีสาน ขอนแก่น มหาสารคาม ในภาคกลางและภาคใต้จะพบอยู่ทั่วไป เช่น เพชรบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา และนครศรีธรรมราช เป็นต้น
ประเภท ไก่ลายหางขาวเป็นสายพันธุ์ไก่ชน ตัวผู้หนัก 3.0 - 4.0 กก. ตัวเมียหนัก 2.5 - 3.0 กก.
สีของเปลือกไข่ ไข่จะสีขาวอมน้ำตาล ที่เรียกว่าสีไข่ไก่ ลูกเจี๊ยบสีดำมอๆ หน้าอกขาว หัวจะมีจุดขาว ตา ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลือง
ประวัติความเป็นมา ไก่ลายหางขาวเป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณครั้งสมัยสุโขทัย จัดเป็นไก่เก่งทางภาคเหนือที่เราเรียก กันว่า "ไก่เบี้ย หรือ ไก่ข่อย" ทราบว่าในสมัยสุโขทัยพ่อขุนเม็งราย พระสหายพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงโปรดไก่เบี้ย ไก่ข่อย หรือไก่ลายหางขาวมาก เคยชนกับไก่ประดู่แสมดำหางดำของพ่อขุนรามคำแหง ไก่ลายปัจจุบันมีอยู่ทั่วๆไป สีคล้ายๆกับไก่บาร์พลีมัทร็อคของฝรั่ง เป็นไก่พันธุ์เนื้อและพันธุ์ไข่ แต่ของไทยเป็นพันธุ์ไก่ชน


ลักษณะเด่นประจำพันธุ์
  • รูปร่างลักษณะ ไก่พันธุ์ลายหางขาว เพศผู้ ขนพื้นตัวลายตลอดขนปีก ขนหางพัดลายเหมือนขนพื้นตัว ขนหางกะลวยสีขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีลาย ตา ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมเหลืองหรือขาวงาช้าง
  • ใบหน้า กลึงกลมแบบหน้านกเหยี่ยว เหนียงคางรัด
  • ปาก ปากใหญ่ ปลายปากงุ้มสีขาวอมเหลือง ปากมีร่องน้ำลึกทั้ง 2 ข้าง
  • จมูก แบนราบสีเดียวกับปาก รู้จมูกกว้าง สันจมูกเรียบ
  • ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี แบบตาวัว ขอบตา 2 ชั้น ลูกตากลางดำ ตารอบนอกสีเหลือง เส้นเลือดสีแดงชัดเจน
  • หงอน หงอนเล็กเป็นหงอนหิน หน้าหงอนบางกลางหงอนสูง ท้ายหงอนกอดกระหม่อม หงอนสีแดงสด พื้นหงอนเรียบ
  • ตุ้มหู ขนปิดรูหูมีลายเหมือนสร้อย
  • เหนียง เหนียงเล็กรัดติดกับคาง สีแดงเหมือนหงอน
  • กะโหลก กะโหลกยาวกลมเป็น 2 ตอน ตอนหน้าเล็ก ตอนหลังใหญ่กว่า
  • คอ คอยาวใหญ่โค้งแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิดร่องคอ ขนสร้อยคอขึ้นดกเป็นระเบียบ
  • ปีก ปีกลาย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังลาย
  • ตะเกียบ ตะเกียบก้นแข้ง หนาและตรงชิด
  • หาง หางยาวดก เรียงเป็นระเบียบ หางพัดลายเหมือนพื้นตัว หางกะลวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆสีขาวปลายลาย
  • แข้งขา ปั้นขาใหญ่ห่างจากกัน ข้อขามั่นคง ขนปั้นขาลาย เป็นแข้งรูปลำเทียนหรือลำหวาย สีเดียวกับปาก
  • เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบ สีเดียวกับปาก
  • นิ้ว เรียวยาว เป็นลำเทียน ข้อนิ้วมีท้องปลิงหนา
  • เดือย เดือยตรงแกนใหญ่ ปลายโค้งงอนไปตามก้อย แข็งแรงมั่นคง สีเดียวกับปาก
  • ขน ขนพื้นตัวลาย ขนปีก หางพัดลาย ขนกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายลาย
  • เล็บ มั่นคง สีเดียวกับเกล็ด แข้งและปาก
  • สร้อย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีลายแตกต่างกันไปตามเฉดสี
  • กระปุกน้ำมัน เป็นกระปุกใหญ่ ปลายเดี่ยว
ไก่ลายหางขาว มี 7 เฉดสี
  1. ลายลูกข่อย ขนสร้อยลายขาวสลับเหลืองแบบสีลูกข่อยสุก
  2. ลายลูกหวาย ขนสร้อยลายสีน้ำตาลแบบลูกหวายสุก
  3. ลายดอกอ้อ ขนสร้อยสีลาย สีเทาอ่อนแบบดอกอ้อ ดอกพง
  4. ลายข้าวตอก ขนสร้อยลายสีขาวแบบหอยเบี้ย
  5. ลายนกกระทา ขนสร้อยลายสีน้ำตาลแบบสีนกกระทา
  6. ลายกาเหว่า ขนสร้อยลายสีน้ำตาลแก่สลับดำ
  7. ลายเบี้ย ไก่ลายเบี้ยออกขาวปนเทา
ทั้ง 7 เฉดสีนี้ถือว่าเป็นไก่ลายหางขาวทั้งหมด ตัวที่นิยมคือ คือ ตัวลายเหลือง ลายขาว ลายน้ำตาล เรียกว่า สีลายข่อย ลายเบี้ย ลายกาเหว่า นั่นเอง

ไก่ชนพันธุ์เขียวหางดำหรือเขียวกา

  ไก่เขียวหางดำมีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือของไทย ไก่เขียวมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น ในภาคเหนือ จังหวัดอุตรดิตถ์ เรียก “เขียวพาลี” ส่วนภาคกลาง เรียก “เขียวพระยาพิชัยดาบหัก” และภาคใต้ เรียก “เขียวมรกต” และยังมีชื่ออื่นๆ อีก เช่น เขียวไข่กา, เขียวพระอินทร์, เขียวนิลสาริกา ไก่พันธุ์เขียวหางดำ ปัจจุบันค่อนข้างหายาก กำลังอนุรักษ์และพัฒนากันต่อไป


       เพศผู้ : ไก่เขียวพาลี มีรูปร่างเพรียวยาวสูงระหง ทรงพญาหงส์ ลำตัวยาว ไหล่ยกกระเบนหางรัด หางสวยงามทรงฟ่อนข้าวหรือพลูจับ ก้านหางแข็ง ปั้นขาใหญ่กลมเรียกแบบลำหวาย หน้ากลมยาวแบบนกยูงหรือกา ยืนเหยียดขาตรงชูคอเล่นสร้อยตลอดเวลา 
- คอ คอใหญ่ปานกลาง ยาวระหง กระดูกปล้องคอชิดแน่น ลำคอโค้งเป็นรูปเคียว   ขนสร้อยคอขึ้นเรียบเป็นระเบียบ 
- ใบหน้า ใบหน้ากลมยาว ผิวเรียบแบบหน้ากาหรือนกยูง 
- ปีก ปีกยาว สนับปีกใหญ่ ปีกเป็นลอนเดียว สีดำ สร้อยปีกสีเขียวอมดำ 
- ปาก ปากใหญ่ ปลายปากงอเล็กน้อย มีร่องปากหรือร่องน้ำทั้ง 2 ข้าง ปากสีเขียวอมดำ สีรับกันกับสีแข้ง เล็บ   และเดือย 
- จมูก รูจมูกกว้างยาวเป็นแนวตามปาก สันจมูกเรียบไม่เผยอ สีเดียวกับปาก 
- หาง หางพัดและหางกระรวยสีดำสนิท หางพัดเรียงกันเป็นแนวจากล่างขึ้นบนตามลำดับ หางกระรวยดก   ยาวเป็นฟ่อนข้าว ก้านหางแข็ง 
- ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี คิ้วนูนเรียบตามเบ้าตา ดวงตาสีเขียวอมดำ สีเส้นเลือดแดงในตาชัดเจน   ลูกตามีประกายแจ่มใส 
- แข้งขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสัน แข้งเรียวแบบลำหวาย ข้อขาตรง หนังปั้นขาออกสีชมพู ขนปั้นขาสีดำ 
- หงอน หงอนเป็นหงอนหิน มีแฉกเล็กๆ 2 ข้าง ผิวหงอนเรียบ หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง   ท้ายหงอนกดรัดกระหม่อม ไม่พับไม่ล้ม 
- เกล็ด เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้วสีเขียวอมดำรับกับสีปาก เกล็ดเรียบเป็นแถวเป็นแนวยาวปัดตลอด มักมีเกล็ดพิฆาต   เช่น กากบาท นาคราช เสือซ่อนเล็บ เหน็บใน ผลาญศัตรู งูจงอาง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง 
- นิ้ว นิ้วเรียวยาว ปุ่มนิ้วหรือตัวปลิงแน่น เกล็ดนิ้วมักแตกเป็นลักษณะต่างๆ เกล็ด เล็บ เดือย   มีสีเขียวอมดำรับกับแข้งและปาก 
- เดือย เป็นเดือยแบบขนเม่นและงาช้าง เดือยแหลมคม สีเดียวกับแข้งหรือปาก 
- กะโหลก กะโหลกหัวยาว 2 ตอน ส่วนหน้ายาวเล็กกว่าส่วนท้าย เห็นรอยไขหัวที่กะโหลกชัดเจน 
- ขน ขนพื้นตัว หน้าคอ หน้าท้อง ใต้ท้อง ใต้ปีก สีดำตลอด ขนหางพัด หางกระรวยสีดำสนิท ขนสร้อยคอ   สร้อยปีก สร้อยหลัง และระย้า 

      เพศเมีย : เป็น ไก่ทรงยาวจับ 2 ท่อน คอยาวลอนเดียว ขนพื้นตัว ขนหาง ทั้งหมดเป็นสีดำ ขนคอ ขนหลัง ปลายขน เป็นสีเขียวอมดำเล็กน้อยตามสีตัวผู้ จะเป็นเขียวอะไรก็ให้สังเกตที่ปลายขนสร้อยคอจะออกสีเขียวเล็กน้อย ปาก แข้ง เล็บ เดือย ตา สีเขียวอมดำ ยกเว้นเขียวนิลสาริกา และเขียวแมลงทับ ปาก แข้ง เล็บ เดือย จะมีสีขาว จาสีขาวปลาหมอตาย



     ไก่เขียวพาลี เป็นไก่ที่งดงาม ทรงเพรียวระหง ขนพื้นตัว ขนหางพัด หางกระรวยสีดำสนิท ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังเป็นสีเขียวอมดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย เป็นสีเขียวอมดำ
- น้ำหนักตัวเพศผู้ประมาณ  3 กิโลกรัม ขึ้นไป 
- น้ำหนักเพศเมียประมาณ 2 กิโลกรัม ขึ้นไป

วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ประดู่หางดำ

                                                                  ประดู่หางดำ

                                   เป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงมาแต่ดั้งเดิมจังหวัดสุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา
                                   ฉะเชิงเทรา มีนบุรี หนองจอกเป็นแหล่งกำเหนิดไก่ประดู่หางดำชั้นดีไก่ประดู่
                                   หางดำโด่งดังในสมัยพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาวได้ทรงนำไก่ประดู่หางดำ
                                   จากสุพรรณบุรีมาชนกับไก่ของข้าราชบริพารทรงชนะตลอด ทำให้ไก่ประดู่
                                   หางดำจากสุพรรณบุรีมาชนกับไก่ของข้าราชบริพารทรงชนะตลอด ทำให้
                                   ไก่ประดู่หางดำโด่งดังไม่น้อยไปกว่าเหลืองหางขาว บางตำราบอกว่าไก่ประดู่
                                   หางดำเป็นต้นตระกูลไก่ประดู่สายพันธุ์อื่นๆ อีกหลายสายพันธุ์ ในประเทศไทย



ไก่ชนพันธุ์ประดู่หางดำ มีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้
  • ปาก เป็นสายพันธุ์ไก่ชนที่มีปากสีดำ อูมใหญ่ โดยปากจะคล้ายปากนกแก้ว ปากบนมีร่องน้ำทั้งสองข้าง ระหว่างร่องน้ำจะเป็นสันราง
  • ตา ตาสีประดู่ หรือแดงอมม่วง หรือตาออกสีดำ หรือสีแดง
  • หงอน หงอนหินไม่มีจักเลย
  • สร้อยคอ สร้อยคอสีประดู่ยาวประบ่า ปีกใหญ่ยาว สร้อยปีกสีเดียวกับสร้อยคอ สร้อยหลังสีประดู่ยาวระย้าประก้น
  • ขน ขนลำตัวขนปีกและหางสีดำ กะลวยหางดำ โคนขาใหญ่
  • หน้าอก หน้าอกกว้าง และยาวเนื้อเต็มแน่น
  • ขาแข้ง เล็บและเดือย สีดำ
  • เพศเมียสีเดียวกับเพศผู้แต่ไม่มีสร้อย
ไก่ประดู่หางดำ ที่สมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมือง รับรองพันธุ์มี 4 ชนิด คือ
  1. ประดู่มะขาม ถ้าสีแก่เรียกมะขามไหม้ ลักษณะขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหาง สีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีประดู่แบบเม็ดมะขามแก่ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาลไหม้(แก่) ตาสีไพล ขนปิดหูสีประดู่
  2. ประดู่แสมดำมะขามไหม้ ลักษณะเหมือนประดู่มะขามทุกอย่าง ยกเว้น ปาก แข้ง เล็บ เดือย และตาสีดำ
  3. ประดู่แข้งเขียวตาลาย ลักษณะเหมือนประดู่มะขาม ต่างกันตรงปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเขียวอมดำ ตาลายดำ
  4. ประดู่แดง ลักษณะเหมือนประดู่อื่นทั่วๆไป ต่างกันตรงสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีออกแดง(น้ำตาลแดง) ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีน้ำตาล ตาสีแดง

ไก่ชนพันธุ์นกแดงหางแดง


ไก่ชนพันธุ์นกแดงหางแดงสายพันธุ์ไก่นกแดงหางแดง เป็นไก่พันธุ์แท้แต่โบราณ มีอยู่ทั่ว ๆ ไป แถบภาคกลาง ภาคใต้ และภาคเหนือ ไก่นกแดงที่มีชื่อโด่งดังครั้งสมัยอยุธยาตอนกลาง เป็นไก่ของขุนฤทธิ์ปูพ่าย หรือพระยาศรีไสณรงค์ เจ้าเมืองกาญจนบุรี ทหารเอกแห่งสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเป็นเพื่อนสนิทของขุนเดชพระเวทย์แสนศึกสู้ หรือพระยาไชยบูลย์ผู้นิยมไก่เขียวหางดำ และไก่นกแดงเช่นกัน

  • รูปร่างลักษณะ ไก่พันธุ์นกแดง มีรูปร่างลักษณะเป็นไก่ทรงปลีกล้วย ลำตัวกลม ไหล่หน้าใหญ่ หางทรงฟ่อนข้าวหรือทรงหางม้า
  • ใบหน้า ใบหน้ากลมกลืนแบบหน้านกกา
  • ปาก ปากใหญ่โคนปากมั่นคง มีร่องน้ำ 2 ข้าง สีปากเหลืองอมแดงรับกับสีแข้ง เล็บ เดือย
  • จมูก จมูกสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ แคมหรือฝาจมูกสีเหลืองอมแดง
  • ตา ขอบตามี 2 ชั้น แบบตาวัว ขอบตาแจ่มใสสีแดง มีเส้นเลือดในดวงตาใหญ่ชัดเจน
  • หงอน เป็นหงอนหิน 3 แฉก โค้งกลางกระหม่อม
  • หู-ตุ้มหู ตุ้มหูรัดไม่หย่อนยาน ขนปิดหูสีแดง สีเดียวกับสร้อยคอ
  • กะโหลก กะโหลกหัวยาว 2 ตอน มีรอยในหัวชัดเจน
  • คอ เป็นรูปคอม้า ปล้องคอชิดแน่น ขนสร้อยคอสีแดงสีเดียวรับกับสร้อยหลังและสร้อยปีก
  • ปีก ปีกใหญ่ยาวเป็นลอยเดียว ไม่ห่างโหว่ ขนปีกสีแดงด้าน ขนสร้อยปีกสีแดงสดสีเดียวกับสร้อยคอ สร้อยหลัง
  • หาง หางพัดสีแดง หางกะลวยสีแดง ก้านหางสีแดง หางเป็นรูปหางม้า กระปุกน้ำมันเดียว
  • แข้ง ขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสัน แข้งเรียวกลมแบบลำเทียน ขนปั้นขาสีแดง แข้งสีเหลืองอมแดง รับกับสีปาก
  • เกล็ด เกล็ดแข้ง เกล็ดนิ้วสีเหลืองอมแดง เป็นเกล็ดปัดตลอด มีเกล็ดพิฆาต เช่น เสือซ่อนเล็บเห็บใน ไชบาดาลและอื่น ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
  • นิ้ว นิ้วเรียวยาวเป็นลำเทียน เกล็ดนิ้วมักแตกมีเกล็ดพิฆาต สีเกล็ดเหลืองอมแดงรับกับแข้ง นิ้วเล็ก นิ้วสีเดียวกับแข้ง
  • เดือย เป็นเดือยงาช้าง สีเหลืองอมแดงรับกับปากและแข้ง
  • ขน ขนพื้นตัว หน้าคอ หน้าท้อง ใต้ปีกสีแดงตลอด ขนพัด ขนกะลวยสีแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังก้านขนสีแดง เรียกว่าแดงหมดทั้งตัว
  • กิริยาท่าทาง ไก่นกแดงเป็นไก่สกุลเดียวกับไก่ทองแดง ไก่นกกรด มองไกล ๆ ดูคล้าย ๆ กัน เป็นไก่ สกุลสูงอีกชนิดหนึ่ง ท่าทางสง่างามมีชั้นเชิงหลายกระบวนท่า
ไก่นกแดงหางแดงพันธุ์แท้แต่โบราณมีอยู่ 4 สายพันธุ์
  1. แดงชาด เป็นสีแดงเข้มหรือแดงแก่ดั่งสีชาด ขนพื้นตัวตั้งแต่หน้าคอ หน้าอก ท้อง ใต้ปีก ใต้ก้นเป็นสีแดงเข้ม ขนปีก จนหางพัด หางกะลวย สีแดงเข้มเหมือนสีพื้นตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง และขนปิดหูเป็นสีแดงเข้มสดใสเป็นมัน ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตาสีแดง
  2. แดงทับทิม เป็นสีแดงสดใส สีอ่อนกว่าสีแดงชาด คล้ายทองแดงใหญ่ ขนพื้นตัวตั้งแต่หน้าคอถึงใต้ท้อง ใต้ปีก ใต้ก้นเป็นสีแดง ขนปีก ขนหางพัด หางกะลวย สีแดงแบบขนพื้นตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูสีแดงเพลิง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตาสีแดง
  3. แดงเพลิง หรือบางแห่งเรียกแดงตะวัน เป็นสีแดงอ่อนกว่าแดงทับทิมออกไปทางสีแสด หรือแดงอมเหลือง ขนพื้นตัวตั้งแต่หน้าคอถึงใต้ก้นเป็นสีแดง ขนปีก ขนหางพัด หางกะลวย สีแดงแบบขนพื้นตัว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูสีแดงเพลิง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตาสีแดง
  4. แดงนาก เป็นสีแดงคล้ำ ๆ แบบสีตัวนาก ขนพื้นตัวตั้งแต่หน้าคอ หน้าอก ถึงใต้ก้นเป็นสีแดงนาก ขนปีก ขนหางพัด หางกะลวยสีแดง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ขนปิดหูเป็นสีแดงออกมัน ตาสีแดง (ไก่นกแดงที่พบในปัจจุบัน มักจะกลายพันธุ์เป็นพวกแดงหางขาวก้านหางไม่แดง ตาไม่แดง)
ลักษณะประจำพันธุ์ไก่นกแดงหางแดงเพศเมีย
ทรงปลีกล้วย ไหล่หน้าใหญ่ท้ายเรียว จับกลมยาว 2 ท่อน หน้าแหลมกลมแบบนกกา ขนพื้นตัว หน้าคอ หน้าอก ใต้ท้อง ใต้ปีก สีแดง ขนหาง หางพัด หางกะลวย สีแดง ก้านหางแดง ขนหลัง ขนสันหลัง สีแดงเข้มกว่าขนพื้นตัวเล็กน้อย ขนคอเหนือขนหลัง แต่ปลายสร้อยขนจะมีขลิบ สีแดงเป็นมันตามเฉดสีตัวผู้ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง ตา สีแดงเหมือนตัวผู้

ทองแดงหางดำ

 ไก่ชนพันธุ์ทองแดงหางดำ ไก่ชนสายพันธุ์นี้ เป็นพันธุ์แท้แต่โบราณ ทราบได้สมัยอยุธยา ตอนฉลองกรุงหงสาวดีจัดให้มีการชนไก่ หน้าพระที่นั่งพระเจ้าบุเรงนอง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชครั้นยังทรงพำนักอยู่หงสาวดี ได้มีรับสั่งให้สมเด็จพระน้องยาเธอ พระเอกาทศรถ นำไก่ไทยไปร่วมชนในงานฉลองกรุงหงสาวดีครั้งนั้นด้วยไก่ทองแดงหางดำ ได้ไปสร้างชื่อเสียงเอาชนะไก่พม่าได้อย่างง่ายดาย
แหล่งกำเนิด ไก่ทองแดงหางดำ มีแหล่งกำเนิดอยู่ทั่ว ๆ ไป ไก่ดังในอดีตที่ เพชรบุรี ราชบุรี อยุธยา ชลบุรี สุพรรณบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ เป็นต้น ไก่ทองแดงหางดำ เป็นไก่ขนาดกลาง น้ำหนักโดยเฉลี่ยตัวผู้ประมาณ 3-3.5 กิโลกรัม ตัวเมีย 2.5-3 กิโลกรัม สีของเปลือกไข่และลูกเจี๊ยบ เปลือกไข่สีน้ำตาลอมแดง ลูกเจี๊ยบสีแดง ทั้งตัวแบบไก่โร้ดไอร์แลนด์เรด ปาก แข็ง เล็บ เดือยสีเหลืองอมแดง ตาสีแดงอ่อน อาจารย์พนได้เป็นผู้ให้ข้อมูล ดังนี้

รูปร่างลักษณะไก่ทองแดงหางดำ มี
  • รูปร่าง ทะมัดทะแมง ทรงหัวปลีกล้วย ช่วงไหล่กว้าง อกเป็นมัด มีกล้ามเนื้อลำตัวยาวจับกลม 2 ท่อน ไหล่หน้าใหญ่ บั้นท้ายโต ปั้นขาใหญ่แข็งแรง หางดกยาวเป็นฟ่อนข้าวหรือแบบหางม้า
    ใบหน้า แหลมกลมอูมแบบนกกา
  • ปากปากใหญ่แบบปากนกกา ปลายปากงองุ้มเล็กน้อย ปากมีร่องน้ำทั้ง 2 ข้าง ปากสีเหลืองอมแดง
  • จมูก จมูกแบบราบสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง แคมหรือฝาปิดจมูกสีเดียวกับปาก
    ตา ขอบตาเป็นรูปวงรี มีขอบตา 2 ชั้น ดวงตาสีแดง มีประกายแจ่มใส คิ้วขอบตานูนรับกับตา
  • หงอน หงอนเป็นหงอนหิน 3 แฉก ผิวหงอนเรียบสีแดงสดใส
  • ตุ้มหู ตุ้มหูรัดติดกับหูมีสีแดงเหมือนหงอน
  • เหนียง รัดกลมกลึงติดกับคาง บางตัวอาจมีเหนียงแลบออกมาเล็กน้อย สีแดงสดใสแบบหงอน และตุ้มหู
  • กะโหลก กะโหลกใหญ่และยาวเป็น 2 ตอน ส่วนหน้าเล็กกว่าส่วนท้าย มีรอบไขหัวเห็นได้ชัดเจน
  • คอ คอใหญ่ยาวโค้งไปข้างหน้าแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิดแน่นรับกับร่องไหล่ ขนคอขึ้นเป็นระเบียบสีเดียวกับขนหลังขนสร้อยคอยาวประบ่า
  • ปีก ปีกใหญ่และยาวแน่น ขนปีกเรียงเป็นระเบียบ ไม่มีช่องโหว่ไขไชปีกจะมีสีดำแน่น จนปีกใน สีแดงเหมือนขนพื้นตัว
  • ตะเกียบ แข็งหนาและตรง
  • หาง หางพัดปลายมนกลม สีดำยาวไม่ต่ำกว่า 1 คืบ หางกะลวยเส้นเล็กกว่าหางพัดปลายแหลมยาว ไม่ต่ำกว่า 1 ฟุต หางกะลวยดกเป็นฟ่อนข้าวหรือแบบหางม้า กระเบนหางใหญ่ชิดกับกระดูกสันหลัง กระปุกน้ำมันใหญ่มีอันเดียว
  • แข้งขา ปั้นขาใหญ่ล่ำสัน มีขนสีแดงขึ้นเต็มถึงข้อขา แข้งสีเหลืองอมแดง แข้งกลมแบบลำหวายหรือ ลำเทียน
  • เกล็ด เกล็ดเป็นเกล็ดพัดใหญ่ ๆ เรียงเป็นระเบียบ 2-3 แถว สีเดียวกับแข้ง มักมีเกล็ดสำคัญ เช่น เสือซ่อนเล็บ เหน็บใน ไชบาดาล ผลาญศัตรูหรือเกล็ดอื่นๆในไก่ตัวดีๆ
  • นิ้ว-เล็บ นิ้วกลมยาวเรียบแบบเล่มเทียน เล็บและเกล็ดสีเดียวกับแข้ง มักมีเกล็ดนิ้วแตกเป็นเกล็ด พิฆาตเล็บเรียวแหลม จมูกเล็บแน่น
  • เดือย เป็นเดือยขนเม่นหรืองาช้าง สีเดียวกับแข้งและเกล็ด
  • ขน ขนพื้นตัวตั้งแต่หน้าคอ หน้าอก ใต้ปีก ใต้ท้อง จะมีสีแดง ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังระย้า ขนปิดหู จะมีสีแดงเป็นมัน ขนไชปีก ขนหางพัด หางกะลวยสีดำ
  • กิริยาท่าทาง ไก่ทองแดงหางดำ เป็นไก่ที่มีกิริยาท่าทางองอาจ ทะมัดทะแมงแบบไก่ประดู่หางดำ จะยืนเดินวิ่งชนดูคล่องแคล่วแข็งแรง จะยืนกระพือปีกตลอดเวลา เมื่อพบไก่อื่นๆ จะแสดงท่าอาการต่อสู้เสมอ ไก่ทองแดงเป็นไก่ชนเชิงหลัก มัด ตั้ง กอด คุมตีบน ตีเท้าบ่าเป็นส่วนใหญ่
ไก่ทองแดงหางดำแบ่งตามเฉดสีได้ 4 ชนิด คือ
  1. ทองแดงใหญ่ ขนพื้นตัวและขนสร้อยจะมีสีเข้มแดงอมดำ ปากแข็ง เล็บเดือยสีเหลือง อมแดงอม ดำตาแดง ไก่ทองแดงใหญ่บางแห่งเรียกว่าไก่ทับทิม
  2. ทองแดงตะเภาทอง ขนพื้นตัวและขนสร้อยจะสีออกเหลืองส้มตามแบบไก่ตะเภาหรือสีแบบสีทองคำแท่ง ปาก แข้ง เล็บ เดือย มีสีเหลืองอมแดง ตาเหลืองอมแดง
  3. ทองแดงแข้งเขียวตาลาย ขนพื้นตัวขนสร้อยจะสีเข้มอมดำคล้าย ๆ แดงใหญ่ แต่ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเขียวอมดำ ตาลาย แดงดำ
  4. ทองแดงอ่อนหรือสีปูนแห้ง ขนพื้นตัว ขนสร้อย จะสีแดงซีด ๆ แดงอ่อนๆ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีขาวอมแดงเหมือนกับตะเภาทอง
ลักษณะเด่นประจำพันธุ์ไก่ทองแดงหางดำเพศเมีย
  1. ขนพื้นตัวด้านล่าง หน้าคอ หน้าอก ใต้ปีก ใต้ท้อง ก้น สีแดง
  2. ขนคอ ขนหลัง ขนปีก สีแดงแก่กว่าขนพื้นตัวเล็กน้อย
  3. ขนสร้อยคอ จะมีแดงขลิบแลบออกมาเล็กน้อยตามเฉดสีแต่ละชนิด ขนปิดหูสีแดง
  4. ขนไชปีก ขนหางพัดสีดำ ขนทับหางสีแดง
  5. ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเหลืองอมแดง จะเข้มหรืออ่อนตามเฉดสีพันธุ์ตาสีแดง
  6. ไก่ทองแดงเพศเมียจะเป็นไก่ทรงรูปปลีกล้วย ไหล่หน้าจะใหญ่ ท้ายจะมนกลม กระโปรงหางจะรัดและยาวแบบตัวผู้



ประดู่เลาหางขาว



ไก่ชนพันธุ์ประดู่เลาหางขาว แหล่งกำเนิด เชื่อว่ามาจากพระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี กำแพงเพชร มีนบุรี หนองจอก สุโขทัย ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ประเภท เป็นไก่ชนไทยขนาดกลาง ตัวผู้หนัก 3.00 - 4.00 กก. ตัวเมียหนัก 2.50 - 3.00 กก. สีของเปลือกไข่ เปลือกไข่สีน้ำตาลอ่อน สีของลูกเจี๊ยบ ขนหัว ขนคอขาว ขนหางดำ ปีกในสีดำ ปีกนอกสีขาว หน้าคอ หน้าท้องสีขาว ประวัติความเป็นมา ไม่ทราบแน่ชัดว่ามีความเป็นมาอย่างไร พัฒนามาจากไก่สายพันธุ์ใด ในประวัติศาสตร์ หรือการบันทึกยังไม่พบว่าเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญท่านใดในประวัติศาสตร์
     รูปร่างลักษณะของประดู่เลาหางขาว

  • รูปร่าง แบบทรงหงส์ ลำตัวยาว ไหล่ยก หางดกยาวเป็นฟ่อนข้าว เดินยืดท่าทางสง่างาม แข้งกลมแบบลำหวาย หน้ากลมยาวแบบหน้านก
  • ใบหน้า กลึงกลมแบบหน้านกเหยี่ยว เหนียงคางรัด
  • ปาก ปากใหญ่ ปลายปากงุ้มสีน้ำตาลอมเหลืองเล็กน้อย ปากมีร่องน้ำลึกทั้ง 2 ข้าง สีน้ำตาลอ่อน
  • จมูก จมูกแบนราบสีเดียวกับปาก รูจมูกกว้าง สันจมูกเรียบ สีเดียวกับปาก
  • ตา ขอบตาเป็นรูปวงรีแบบตาวัว ขอบตา 2 ชั้น นัยน์ตาดำ ตารอบนอกสีเหลืองแก่แบบสีไพล เส้นเลือดสีแดงชัดเจน
  • หงอน หน้าหงอนบาง กลางหงอนสูง ท้ายหงอนกอดกระหม่อม หงอนสีแดงสด พื้นหงอนเรียบ
  • ตุ้มหู ตุ้มหูสีแดงเหมือนหงอน ขนปิดรูหูสีประดู่เลา เหมือนขนสร้อย
  • เหนียง เหนียงเล็กสีแดงเหมือนหงอน รัดติดกับคาง
  • กะโหลก กะโหลกยาวกลมเป็น 2 ตอน ตอนหน้าเล็ก ตอนหลังใหญ่กว่า
  • คอ คอยาวใหญ่โค้งแบบคอม้า กระดูกปล้องคอชิดร่องคอ ขนสร้อยคอขึ้นดกเป็นระเบียบสีประดู่เลา
  • ปีก ปีกยาวใหญ่จรดก้น ขนปีกท่อนในขาวปนดำ ปีกท่อนนอกไชปีกขาว ปีกท่อนในไชปีกขาวปนดำ ปีกแน่นไม่เป็นร่องโหว่
  • ตะเกียบ ตะเกียบแข้งตรง ท้องแฟบรับกับตะเกียบ
  • หาง หางยาวดกเป็นระเบียบ สีขาวปนดำ หางพัดดำปลายขาว หางกะลวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆสีขาวปนดำ หางดกยาวเป็นฟ่อนข้าว ก้านหางสีเดียวกับขน
  • แข้งขา ปั้นขาใหญ่ ห่างจากกัน ข้อขามั่นคง ขนปั้นขาสีดำ เป็นแข้งรูปลำเทียน ลำหวาย เกล็ดแข้ง 2 แถวเป็นระเบียบ นิ้วเรียวยาว แข้งสีเดียวกับปาก
  • เกล็ด เกล็ดนิ้ว เกล็ดแข้งเรียงเป็นระเบียบสีเดียวกับปาก
  • นิ้ว นิ้วยาวเป็นลำเทียน ข้อนิ้วมีท้องปลิงหนา
  • เดือย เดือยเป็นเดือยแบบลูกปืน หรือแบบงาช้าง แข็งแรงมั่นคง
  • ขน ขนพื้นตัวสีดำ ขนกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ
  • สร้อยปีก และสร้อยหลัง สีประดู่เลา คือโคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีประดู่
  • เล็บ มั่นคงแข็งแรง สีเดียวกับเกล็ดแข้งและปาก
  • สร้อย สร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง สีประดู่เลา คือ ขนสร้อยท่อนล่างสีขาว ท่อนปลายสีประดู่
  • กระปุกน้ำมัน เป็นกระปุกใหญ่ ปลายเดียว
ประดู่เลามี 4 เฉดสี คือ
  1. ประดู่เลาใหญ่ หรือเรียกอีกชื่อว่าเลาใหญ่พระเจ้า 5 พระองค์ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางเป็นสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาวปลอด คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ที่หัว-หัวปีก-ข้อขา มีกระขาว ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยระย้า โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีเม็ดมะขามแก่ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล
  2. ประดู่เลาเล็ก ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้า โคนขนสีขาว ปลายขนสีเม็ดมะขามแก่ ไม่มีหย่อมกระ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล
  3. ประดู่เลาแดง ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง ระย้า โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีประดู่แดง ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพลหรือส้ม
  4. ประดู่เลาดำ ขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหางพัดสีดำแซมขาว ขนหางกะลวยคู่กลางสีขาว คู่อื่นๆสีขาวปลายดำ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาล ตาสีไพล ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลัง โคนสร้อยสีขาว ปลายสร้อยสีคล้ำเข้มแบบเขียวประดู่

โรคคอดอก

โรค คอดอก เป็นภาษาท้องถิ่น ชาวบ้านที่เราเรียกกันมานานจนติดปาก แต่คนไม่คุ้นเคยก็อาจจะงงได้ หากจะกล่าวกันให้ถูกต้อง และทำให้หมอเข้าใจก็คงไ...