วันพุธที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561

โรคคอดอก


โรค คอดอก เป็นภาษาท้องถิ่น ชาวบ้านที่เราเรียกกันมานานจนติดปาก แต่คนไม่คุ้นเคยก็อาจจะงงได้ หากจะกล่าวกันให้ถูกต้อง และทำให้หมอเข้าใจก็คงไม่ยากนักโรคคอดอก จะหมายถึงโรคที่ทำให้เกิดดอก หรือตุ่มสีขาวบริเวณหลอดอาหาร บางรายเป็นก้อนขนาดใหญ่คล้ายฝี ที่คนเลี้ยงไก่สามารถมองเห็นได้ เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชื่อว่า Trichomonas gallinae (ทริโคโมนาส กัลลิแน)

เป็น โรคติดต่อโดยการปนเปื้อนเชื้อในน้ำกิน จะพบรอยโรคเป็นตุ่มคล้ายดอกกระดุมสีขาว สามารถขูดออกได้ พบในปาก หลอดอาหาร และกระเพาะพัก ช่องปากจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไก่จะทำท่ากลืนบ่อยๆ คนเลี้ยงไก่มักจะบอกว่าขูดออกแล้วหาย พอไม่นานก็เป็นอีกครั้ง เหมือนโรคจะไม่ค่อยรุนแรง แต่บางรายเกิดเป็นก้อนเนื้อฝีขนาดใหญ่อยู่ที่เพดานปาก และคอได้ทีเดียวแต่ สิ่งที่ผู้เลี้ยงกังวล คือ ไก่ขันเสียงเปลี่ยน และการติดต่อไปยังตัวอื่น ซึ่งแน่นอนเป็นหนึ่ง มักจะพบตัวอื่นๆ เป็น คงต้องแก้ไขกันจริงๆ เสียทีเมื่อมาถึงมือหมอแล้ว หมอก็อย่าชะล่าใจคิดว่าเป็นเพียงโรคคอดอกที่จะพบดอกสีขาวแบบนั้นลักษณะอาการมีความใกล้เคียงกับโรคขาดไวตามินเอ ซึ่งจะเป็นฝ้าสีขาว และโรคติดเชื้อแคนดิเดีย (Candidiasis) รวมทั้งฝีดาษ แต่ฝีดาษจะมีอาการอื่นร่วมเพื่อแยกโรคการวินิจฉัยโดยการขูดแล้วป้ายลงบนสไลด์ (wet smear) ตรวจลักษณะของเชื้อโปรโตซัวจากกล้องจุลทรรศน์ โดยจะเห็นการเคลื่อนไหวของเชื้ออย่างชัดเจนภายใต้กำลังขยายวัตถุ 40 เท่า
การรักษา
โดยการให้ยา dimetridazole ในอาหาร ในอเมริกาห้ามใช้ยาชนิดนี้ เพราะมีพิษต่อตับ หรือcarnidazole ให้กินครั้งเดียว หรือ  metronidazole ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ วันละครั้งติดต่อกัน 2 วัน หากเจ้าของไม่สะดวกมักจะให้ยาในรูปกิน  นาน 5-7 วัน ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ
          ควรแยกไก่ป่วย จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อโรค จนกว่าจะหายขาด 
ก็ คงไม่เห็นว่าเป็นโรคที่ยากเย็นนัก เห็นโพสถามกันมากมายหลายเว็บ จนคิดว่าโรคนี้มันกลายพันธุ์เป็นโรคปัญหาไปแล้วหรือ การรักษาต้องรักษาให้หายขาด และควรนำไก่มาตรวจอยู่เสมอ เพื่อลดการติดต่อไปสู่ตัวอื่น

ไก่ไซ่ง่อน


เป็นไก่ที่มีลักษณะไม่ค่อยสวยงาม คือ มีขนน้อย โดยเฉพาะสร้อยคอ ขนตัว และหางมักจะสั้น ผิวพรรณโดยเฉพาะหนังจะเป็นสีแดงและหนา กระดูกและโครงสร้างจะใหญ่กว่าไก่ไทยและไก่พม่า ลีลาชั้นเชิงมีน้อย อืด และช้า ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้นิยมนำไก่เวียดนามไปผสมกับไก่ไทยและพม่า



ไก่ไซ่ง่อนมีสีเด่นๆคือ
– สีเขียว มีทั้งสีเขียวไข่กา เขียวแมลงภู่ เขียวเลาแข้งเขียวตาลาย
– สีประดู่ ส่วนใหญ่จะเป็นไก่สีประดู่หางดำ
– สีเทา มีทั้งเทาทอง เทาดำ และเทาทั่วไป
– สีทองแดง มีทั้งแดงโนรี นกแดง แดงกรด
– สีเหลือง มีทั้งเหลืองอ่อน เหลืองใหญ่ และเหลืองดอกโสน
– สีดอกหมาก
              ไก่เวียดนามที่นิยมเล่นกันมักจะเป็นสีเขียว สีประดู่ สีเทา ส่วนสีอื่นก็มีเหมือนกัน ไก่เวียดนามมีจุดเด่น ที่มองเห็นชัดคือโครงสร้างกระดูกใหญ่ ขันเสียงดัง แข้งมักจะใหญ่ เกล็ดมักจะเป็นเกล็ด 2 แถว แบบตะเข้ขบฟัน เกล็ดเม็ดข้าวสารมักจะสวย ไก่เวียดนามที่เป็นลูกผสมไทยหรือพม่า ถ้าแข้งกลมเล็กมักจะเก่งแทบทุกตัว และตีเจ็บปวด



ไก่ไซ่ง่อนพันธุ์ล่อน ขนคอไม่มีตั้งแต่เกิดจนถึงโต
ไก่ไซ่ง่อนพันธุ์มีขน จะมีขนขึ้นทั่วตัวเหมือนกับไก่ไทย แต่พอโตขึ้นขนจะน้อยโดยเฉพาะขนคอและหาง
ไก่ไซ่ง่อนลูกร้อยเล็กๆ จนถึงโตเป็นหนุ่ม จะขี้ขลาดไม่ค่อยสู้ไก่เต็มตัว ยกเว้นบางตัว พอเป็นลูกถ่ายแล้วจึง จะสู้เต็มตัว คนไทยไม่ชอบเพราะทนรอไม่ไหว แต่ถ้าเป็นลูกผสม 50%, 75%, 25% จะสู้ไก่ตั้งแต่รุ่นหนุ่มเหมือนกับไก่ไทยยกเว้นบางตัว
ไก่ไซ่ง่อน เป็นไก่ที่มีลีลาชั้นเชิงและเพลงตีไม่ค่อยดี แต่เป็นไก่ตีลำโต ตีหน้าอุด ตีตัว ถ้าตัวใดปากไว ตีไม่เลือกแผลก็เก่งไปเลยสู้ไก่ได้ทุกเชิง
ไก่ไซ่ง่อนลูกร้อย ความจริงก็มีขนขึ้นทั่วตัวแต่มีน้อย และเจ้าของโดยเฉพาะชาวเวียดนาม เขาจะตัดขนตามสีข้างและตะโพกออก เพื่อเวลาไก่ตีจะ ได้ระบายความร้อนออกตามผิวหนังได้สะดวก ซึ่งเป็นความเชื่อของเขา นับว่าก็มีเหตุผลดี ซึ่งตรงกันข้ามกับความเชื่อของนักเลงไก่ไทยโดยว่าขน ตามตัวจะช่วยอุ้มน้ำ ทำให้ไม่หอบเวลาชน


โรคคอดอก

โรค คอดอก เป็นภาษาท้องถิ่น ชาวบ้านที่เราเรียกกันมานานจนติดปาก แต่คนไม่คุ้นเคยก็อาจจะงงได้ หากจะกล่าวกันให้ถูกต้อง และทำให้หมอเข้าใจก็คงไ...