วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ประดู่หางดำ

                                                                  ประดู่หางดำ

                                   เป็นพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงมาแต่ดั้งเดิมจังหวัดสุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา
                                   ฉะเชิงเทรา มีนบุรี หนองจอกเป็นแหล่งกำเหนิดไก่ประดู่หางดำชั้นดีไก่ประดู่
                                   หางดำโด่งดังในสมัยพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาวได้ทรงนำไก่ประดู่หางดำ
                                   จากสุพรรณบุรีมาชนกับไก่ของข้าราชบริพารทรงชนะตลอด ทำให้ไก่ประดู่
                                   หางดำจากสุพรรณบุรีมาชนกับไก่ของข้าราชบริพารทรงชนะตลอด ทำให้
                                   ไก่ประดู่หางดำโด่งดังไม่น้อยไปกว่าเหลืองหางขาว บางตำราบอกว่าไก่ประดู่
                                   หางดำเป็นต้นตระกูลไก่ประดู่สายพันธุ์อื่นๆ อีกหลายสายพันธุ์ ในประเทศไทย



ไก่ชนพันธุ์ประดู่หางดำ มีลักษณะเด่นๆ พอที่จะสังเกตได้ดังนี้
  • ปาก เป็นสายพันธุ์ไก่ชนที่มีปากสีดำ อูมใหญ่ โดยปากจะคล้ายปากนกแก้ว ปากบนมีร่องน้ำทั้งสองข้าง ระหว่างร่องน้ำจะเป็นสันราง
  • ตา ตาสีประดู่ หรือแดงอมม่วง หรือตาออกสีดำ หรือสีแดง
  • หงอน หงอนหินไม่มีจักเลย
  • สร้อยคอ สร้อยคอสีประดู่ยาวประบ่า ปีกใหญ่ยาว สร้อยปีกสีเดียวกับสร้อยคอ สร้อยหลังสีประดู่ยาวระย้าประก้น
  • ขน ขนลำตัวขนปีกและหางสีดำ กะลวยหางดำ โคนขาใหญ่
  • หน้าอก หน้าอกกว้าง และยาวเนื้อเต็มแน่น
  • ขาแข้ง เล็บและเดือย สีดำ
  • เพศเมียสีเดียวกับเพศผู้แต่ไม่มีสร้อย
ไก่ประดู่หางดำ ที่สมาคมอนุรักษ์และพัฒนาไก่พื้นเมือง รับรองพันธุ์มี 4 ชนิด คือ
  1. ประดู่มะขาม ถ้าสีแก่เรียกมะขามไหม้ ลักษณะขนพื้นตัวสีดำ ขนปีก ขนหาง สีดำ ขนสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีประดู่แบบเม็ดมะขามแก่ ปาก แข้ง เล็บ เดือย สีน้ำตาลไหม้(แก่) ตาสีไพล ขนปิดหูสีประดู่
  2. ประดู่แสมดำมะขามไหม้ ลักษณะเหมือนประดู่มะขามทุกอย่าง ยกเว้น ปาก แข้ง เล็บ เดือย และตาสีดำ
  3. ประดู่แข้งเขียวตาลาย ลักษณะเหมือนประดู่มะขาม ต่างกันตรงปาก แข้ง เล็บ เดือย สีเขียวอมดำ ตาลายดำ
  4. ประดู่แดง ลักษณะเหมือนประดู่อื่นทั่วๆไป ต่างกันตรงสร้อยคอ สร้อยปีก สร้อยหลังสีออกแดง(น้ำตาลแดง) ปาก แข้ง เล็บ เดือยสีน้ำตาล ตาสีแดง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

โรคคอดอก

โรค คอดอก เป็นภาษาท้องถิ่น ชาวบ้านที่เราเรียกกันมานานจนติดปาก แต่คนไม่คุ้นเคยก็อาจจะงงได้ หากจะกล่าวกันให้ถูกต้อง และทำให้หมอเข้าใจก็คงไ...